สื่อคณิตศาสตร์
สื่อคณิตศาสตร์
ความหมายของสื่อการสอน
สิริมณี บรรจง
(ออนไลน์) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง อุปกรณ์
หรือเทคนิควิธีการสอนต่างๆที่ช่วยจัดการเรียนรู้
ให้เด็กปฐมวัยให้สามารถเรียนรู้ได้ง่าย และดีขึ้น เช่น บัตรคำ เทปนิทาน
เป็นต้น
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้
สิริมณี บรรจง
(ออนไลน์) ได้รวบรวมแนวคิด
และทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1.
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของฟรอเบล
ฟรอเบล เน้นสร้างสื่อการสอนที่เป็นเครื่องเล่น
เพราะจุดเน้นในการจัดการเรียนรู้ของฟรอเบล
คือการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ดังนั้น
เขาจึงผลิตชุดอุปกรณ์ขึ้นมา 2
ชุด
เรียกว่า 1.ชุดของขวัญ หรือ Gift Set 2.ชุดอุปกรณ์การงานอาชีพ
สื่อการสอนของเฟอรเบลจะใช้เพื่อพัฒนาความสามารถทางสติปัญญา
และกระตุ้นให้เด็กใช้พัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2.
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของมอนเตสซอรี่
เน้นส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความสามารถ และความสนใจของตนเอง
โดยครูเป็นผู้จัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง
5
ให้มากที่สุด
ซึ่งอุปกรณ์การเรียนรู้ของมอนเตสซอรี่นี้จะกอบด้วยชุดอุปกรณ์การเรียนรู้
3
กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มประสบการณ์ชีวิต เช่น ร้อยลูกปัด แต่งตัว เช็ดกระจก
เป็นต้น 2.
กลุ่มประสาทสัมผัส เช่น แยกความแตกต่าง ของสี กลิ่น
เสียงได้ 3.กลุ่มวิชาการ เช่นเข้าใจ ตัวเลข สัญลักษณ์
3.
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิด
ไฮสโคป
เน้นให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง
5
การให้เด็กเล่นกับวัสดุโดยตรง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย
สื่อการสอนนั้นควรเน้นให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น การจำแนกวัสดุ -
สิ่งของ จำนวน เวลา เป็นต้น
4.
สื่อการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษา
เน้นการใช้ของจริง
และสามารถนำไปใช้เพื่อฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านต่างๆ ได้ เช่น บล็อกต่างๆ
สื่อการฝึกนับ รูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ปฏิทิน นาฬิกา เป็นต้น
.............................................................................................................
ตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์
ไม้บล็อก
ความหมายของการเล่นไม้บล็อค
กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 19-20) ได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับไม้บล็อคในแง่มุมต่างๆไว้
ดังนี้
ไม้บล็อคเป็นเครื่องเล่นที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเด็กปฐมวัย
เพราะเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน สามารถหยิบจับได้สะดวก
และสามารถนำมาสร้างเป็นสิ่งต่างๆตามความพอใจได้
เป็นเครื่องเล่นที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างมาก
ไม้บล็อคมีรูปทรงและขนาดต่างๆกัน
มีทั้งที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยม วงกลม
ครึ่งวงกลม รูปโค้ง มีทั้งขนาดเล็กละใหญ่ ตัวทึบและกลวง
ถ้าเป็นไม้บล็อกใหญ่จะเป็นแบบกลวง เพื่อไม่ให้น้ำหนักมากเกินไป
เด็กจะได้เคลื่อนย้ายได้สะดวก (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2525
:
211)
ไม้บล็อคเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์และให้ความสนุกอย่างมากที่พบในชั้นเรียนของเด็กก่อนวัยเรียน
มีหลากหลายรูปร่างหลายขนาด ผลิตจากวัสดุหลายชนิด
สามารถใช้เล่นอย่างเดียวหรือนำไปประกอบ รวมเข้ากับอุปกรณ์อย่างอื่น
ซึ่งนำมาถึงความสนุกสนาน การละเล่น อย่างไม่มีขีดจำกัด (Eva Essa. 1996 : 293)
ความสำคัญและคุณค่าของการเล่นไม้บล็อคการเล่นไม้บล็อค
ในด้านคุณค่าทางการศึกษา ดังนี้
1.
ให้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น กว้าง ยาว สั้น สูง หนา
มากขึ้น น้อยลง
2.
เด็กเรียนรู้รูปทรงต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
ครึ่งวงกลมและทรงกระบอก
3.
ให้พื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ เด็กจะเรียนรู้ว่า
จะใช้แท่งไหนก่อนตรงไหน
จึงจะรับน้ำหนักกันได้
4.
ฝึกประสาทสัมผัสตากับมือ
5.
ฝึกความคิดสร้างสรรค์
6.
พัฒนาด้านภาษา
7.
พัฒนาด้านอารมณ์
สังคม
8.
ปลูกฝังลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์
9.
เด็กจะเรียนรู้และฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง(กัญญา เอื้อเชิดกุล.
(2545:
20-21) อ้างจาก ภรณี คุรุรัตนะ. 2535 : 19)
สรุปได้ว่า
ในการเล่นไม้บล็อกนั้นเด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เช่น
ขนาด รูปร่าง การนับ การจำแนก
เมื่อได้เล่นไม้บล็อกเด็กจะเรียนรู้ความหมายของแต่ละจำนวน
เรียนรู้เกี่ยวกับชื่อของไม้บล็อกในแต่ละอัน และเรียนรู้การแก้ปัญหา เช่น
การสร้างสะพานต้องเลือกความยาวของไม้บล็อคที่เหมาะสม
..................................................................................................
เกมการศึกษา
ความหมายของเกมการศึกษา
วัลนา ธรจักร. (2544: 32)
ได้รวบรวมความหมายของเกมการศึกษาไว้ดังนี้
สำนักงานประถมศึกษากรุงเทพมหานคร (2527
: 5) กล่าวว่า เกมการศึกษา
เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษา
เกมการศึกษามุ่งเน้นให้เด็กได้ใช้สติปัญญาในการสังเกต
คิดหาเหตุผลและแก้ปัญหาโดยพยายามฝึกใช้เวลาสั้นที่สุด
กรมวิชาการ (2540 : 44) กล่าวว่า เกทมการศึกษาเป็นเกมท ช่วยพัฒนาสติปัญญา
มีกฏเกณฑ์ กติกาง่ายๆ
เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้
สรุปความหมายของเกมการศึกษาได้ว่า เกมการศึกษา
เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน
และเป็นกิจกรรมที่สนองต่อความต้องการตามวัยของเด็กด้วย
ประเภทของเกมการศึกษา
วัลนา ธรจักร. (2544: 33-36) อ้างจาก สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541
: 145-153)
กำหนดประเภทของเกมการศึกษาออกเป็นดังนี้
1.
เกมจับคู่
2.
เกมภาพตัดต่อ
3.
เกมโดมิโน
4.
เกมเรียงลำดับ
5.
เกมการจัดหมวดหมู่
6.
เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์
7.
เกมหาภาพที่มีความสัมพันธ์ลำดับที่กำหนด
8.
เกมการสังเกตรายละเอียดของภาพ
(ลอตโต)
9.
เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย
10.
เกมพื้นฐานการบวก
11.
เกมจับคู่ตารางสัมพันธ์
(เมตริกเกม)
สรุปได้ว่า
เกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กทั้งทางร่างกาย อารมณ์
สังคม และสติปัญญา นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ฝึกทักษะการสังเกต จำแนก
เปรียบเทียบ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และภาษา
เกมการศึกษามีหลายรูปแบบการจัดเกมการศึกษาให้เด็กได้เล่นต้องคำนึงถึง
ความสามารถตามวัยของเด็กด้วย